วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กลุ่มโรคของอาการปวดกล้ามเนื้อ( Myofascial pain syndrome)




Myofascial pain syndrome คือ กลุ่มโรคของอาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติที่เป็นผลมาจากจุดปวด (Trigger point) ที่อยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์ถึง 30% มีอาการปวดจาก myofascial pain syndrome พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุประมาณ 30-60 ปี จุดปวดส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อกลางลำตัว (axial pain)
ในกล้ามเนื้อของผู้ป่วยที่เป็น myofascial pain syndrome จะตรวจพบว่ามี taut band อยู่ taut band คือใยกล้ามเนื้อที่มีลักษณะแข็งและมีอาการปวดเมื่อเราตรวจด้วยการคลำ เมื่อขยายดูส่วนของ taut band เราจะพบ trigger point(TrP) ซึ่งเป็นจุดเล็กๆที่มีความไวและก่อให้เกิดอาการปวด ซึ่งอาการปวดนั้นจะเกิดขึ้นเองก็ได้หรือเกิดขึ้นเมื่อมีแรงกดจากการคลำก็ได้


ลักษณะอาการปวดของ TrP จะมีลักษณะเฉพาะ คือก่อให้เกิดอาการปวดร้าวตามตำแหน่งเฉพาะของกล้ามเนื้อแต่ละมัด ซึ่งแตกต่างกันไป(referred pain zone) และ trigger point จะมีความแตกต่างจากจุดปวดแบบ tender spot(TS) ตรงที่ tender spot นั้นจะปวดเฉพาะจุดที่มีพยาธิสภาพ แต่ไม่มีการปวดร้าวแบบ trigger point (จากรูปกากบาทสีขาวคือ trigger point ส่วนสีแดงคือลักษณะการปวดร้าวไปตามตำแหน่งต่างๆของ TrP)


ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิด myofascial pain syndrome
1.การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ(Trauma) ประกอบด้วย Macrotrauma เช่นการเกิด sprain ของกล้ามเนื้อ และMicrotrauma ซึ่งเกิดจากการใช้งานซ้ำๆของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งอย่างมากเกินไป (repetitive overload)
2.การที่ร่างกายอยู่ในท่าทางใดท่าทางหนึ่งนานจนเกินไป ทำให้เกิดลักษณะของกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุล(muscle imbalance) ประกอบด้วย
- ปัจจัยภายใน เช่น posture ที่ไม่เหมาะสม สภาพร่างกายที่ลักษณะของการผิดรูปหรือมีแนวลำตัวที่ผิดปกติ เช่น scoliosis
-ปัจจัยภายนอก เช่น ท่าทางที่ไม่เหมาะสมจากการทำงาน
3.การมีรากประสาทได้รับการกดทับ (Nerve Root Compression) การมีการอักเสบของเส้นประสาทจากการกดของรากประสาท อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทนั้นๆตามมาได้
4.สภาวะผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ สภาวะความเครียด วิตกกังวล จะส่งผลทำให้เกิดการล้าของกล้ามเนื้อได้ง่าย
5.โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ เช่น การขาดฮอร์โมนไทรอยด์ การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
6.ภาวะขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินซี การขาด folic




การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.การยืดกล้ามเนื้อเฉพาะมัดกล้ามเนื้อ (stretching)
2.การmassage ด้วยการกดค้างลงบนจุด trigger point
3.การใช้แผ่นร้อน (hot pack) คลายกล้ามเนื้อ
4.การใช้เครื่อง ultrasound เพื่อลดอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ