วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกในระยะ 1 – 3 สัปดาห์แรก จะมีอาการอ่อนแรงในลักษณะอ่อนปวกเปียก ภายหลังจากนี้กล้ามเนื้อจะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระยะการเกร็งตัวซึ่งจะทำงานในลักษณะหดสั้นตลอดเวลา ยกเว้นขณะนอนหลับ กล้ามเนื้อใดที่มีการเกร็งตัวมากก็จะมีการหดตัวมาก

ปัญหาของผู้ป่วยที่มีการเจ็บปวดข้อไหล่และมือค่อนข้างสูง เนื่องจาก

  1. การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก หัวไหล่และศอก
  2. การเคลื่อนไหวข้อไหล่ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การ เหวี่ยง หรือ การกระชากแขน การทิ้งแขนห้อยข้างลำตัวหรือการนอนทับเป็นเวลานาน
  3. การลดลงของการเคลื่อนไหวข้อไหล่หรือแขน เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. จากผู้เฝ้าไข้ดึงแขนของผู้ป่วยแทนการยกตัวจากการดึงเข็มขัด
    ส่งผลให้ เนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่ เกิดการ หดรั้ง และ สั้น อีกทั้งยังมีการเลื่อนหล่นของข้อไหล่ เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้อไม่แข็งแรง หรือไม่สมดุล

วงจรจากการเจ็บปวดข้อไหล่


วิธีการป้องกันปัญหาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือ

หลีกเลี่ยงท่าทางดังต่อไปนี้
  1. การนอนทับแขนด้านที่ไม่มีแรงเป็นระยะเวลานานๆ
  2. การดึงหรือการกระชากแขนด้านที่ไม่ทีแรงและการห้อยแขนทิ้งข้างลำตัว
          ให้ญาติช่วยเคลื่อนไหวแขนด้านที่อ่อนแรงเป็นจังหวะช้าๆ และนุ่มนวล ท่าละประมาณ 10 – 15 ครั้งดังภาพ
                                                                                                                               
1.ท่ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
นอนหงาย จับบริเวณศอก ข้อมือและนิ้วมือ ให้ เหยียดตรง
ยกแขนขึ้นจนติดศีรษะ แล้วเอาลง สลับกัน

2. ท่ากางแขนพร้อมหมุนออก 
นอนหงาย จับข้อศอก ข้อมือและนิ้วมือให้อยู่ใน แนวตรง แล้วกางแขนออกห่างจากลำตัว พร้อมหมุนแขนออก (ฝ่ามือหงายขึ้น) จากนั้นหุบแขนเข้า ทำสลับกัน




3. ท่ายืดสะบักไปด้านหน้าและกลับด้านหลัง
นอนตะแคง วางแขนผู้ป่วยบนแขนท่อนล่างของเรา จัดให้ข้อศอกอยู่ในแนวตรง มืออีกด้านจับบริเวณสะบักให้ออกแรงที่มือด้านนี้
ขยับสะบักมาด้านหน้าจนสุดแล้วดันกลับไปด้านหลัง ทำสลับกัน



4. ท่าเหยียดแขนไปด้านหลัง
นอนตะแคง มือด้านหนึ่งจับที่ศอก อีกด้านจับที่นิ้วมือให้เหยียดตรง ญาติช่วยขยับแขนไปด้านหลัง จากนั้นเคลื่อนกลับที่ข้างลำตัว ทำสลับกัน


5. ท่างอและเหยียดข้อมือและนิ้วมือ
นอนหงายหรือนั่ง จับมือผู้ป่วยแล้วขยับข้อมืองอและเหยียดสลับกัน สำหรับนิ้วมือให้จับแบบมือให้สุดและกำมือ ดังภาพ ในกรณีมีหลังมือบวมให้เน้นแบบมือ ห้ามกำมือโดยเด็ดขาด






6. ท่านั่ง จัดให้ผู้ป่วยนั่งเท้าแขน หรือจัดหมอนรองรับ ดังภาพ


                 


โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์