แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ homecare แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ homecare แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

โรคกระดูกพรุน(Osteoporesis)

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis)  เป็นภาวะที่กระดูกทั่วร่างกายมีมวลกๅระดูกลด น้อยลง และมีการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อกระดูก จนทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักง่ายกว่า ปกติ   อายุ 50 ปี จะเกิดกระดูกหัก 1 คน ใน 8 คน ในคนอายุเกิน 80 ปี จะเกิดกระดูกหัก 70% ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน 1. ผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิง 2. มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ 3. หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง 4.คนผิวขาวหรือชาวเอเชีย 5. เคลื่อนไหวน้อย หรือไม่ออกกำลังกาย 6. คนที่มีรูปร่างเล็ก ผอม 7. กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย 8. อาหารที่มีไขมันมาก 9.จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม 10. สูบบุหรี่จัด 11. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำชา ในปริมาณมากๆ เป็นประจำ ผู้ที่กินยาบางชนิดซึ่งทำให้การดูดซึมแคลเซียม เข้าสู่ร่างกายลดลง เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาพวกสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น 12.ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคของต่อมหมวกไต 13. หรือการเข้าเฝือกเป็นระยะเวลานาน     การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน   อาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย มีปริมาณแคลเซียมและวิตามินเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัย ซึ่งปกติควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยที่สุดประมาณวันละ 800 - 1,000 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม น้ำปู กุ้งแห้ง ปลาร้าผง กะปิ ปลาเล็กปลาน้อยที่กินทั้งกระดูก ถั่วแดงหลวง งาดำ ถั่วต่างๆ เต้าหู้
ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักโขม บริคโคลี ผักคะน้า ใบชะพลู ใบยอ ควรลดอาหารที่มีไขมันมากเนื่องจากไขมันจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ออ กกำลังกายอย่างถูกวิธี สม่ำเสมอ เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพศ และวัย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที เช่น วิ่งเหยาะๆ เดินเร็วๆ แอโรบิก เต้นรำ เป็นต้น ควรงดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดมีผลให่การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายลดลง เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาพวกสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อติดหรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อติด หรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ
(range of motion exercise : ROM)




เมื่อมีการอักเสบ บาดเจ็บ หรือขาดการเคลื่อนไหว (immobilization) จะมีผลทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อค่อยๆลดลง ในผู้ที่ยังไม่มีข้อติดแต่เสี่ยงต่อภาวะข้อติดเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง หรือบวมรอบๆข้อ การขยับข้อให้สุดพิสัยการเคลื่อนไหวทำเพื่อป้องกันข้อติด แต่ในผู้ป่วยที่มีข้อติดแล้วการขยับข้อทำเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ
การยึดติดของข้อเกิดจากการหดสั้นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ การหล่อลื่นของข้อลดลง การเพิ่มของเนื้อเยื่อชนิด collagen และ reticulin ทำให้ connective tissue แปลงสภาพจาก loose connective tissue กลายเป็น dense connective tissue ซึ่งจะเกิดในข้อที่ขาดการเคลื่อนไหว (immobility)นานเกิน 1 สัปดาห์ หรือถ้ามีการอักเสบหรือการขาดเลือดมาเลี้ยง การเปลี่ยนแปลงนี้จะยิ่งเร็วขึ้น
Range of motion exercise (ROM exercise) แบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ
  1. Active exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อเองทั้งหมด
  2. Acitive-assistive exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับให้เต็มที่ก่อนแล้วใช้แรงจากภายนอกหรือผู้อื่นช่วยขยับต่อจนสุดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ
  3. Passive  exercise คือให้ผู้ช่วยหรือใช้แรงจากภายนอกเป็นผู้ขยับตลอดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ โดยผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงเลย
  4. Passive stretching exercise คือผู้ช่วยหรือผู้บำบัดช่วยดัดยืดเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวข้อในกรณีที่มีข้อติด
หลักการ
- ถ้ายังไม่มีข้อติด ทำเพื่อป้องกัน โดยเคลื่อนไหวข้อจนครบพิสัยของข้อนั้นอย่างน้อยวันละ 2รอบ (set) รอบละ 3 ครั้ง (repetition) ซึ่งจะทำเป็น active หรือ passive ROM exercise ก็ได้
- ถ้ามีข้อติด ต้องใช้การดัดยืด (stretching) คือมีแรงมากระทำที่มากพอจนทำให้เนื้อเยื่อนั้นมีการเปลี่ยนรูป (deformation) ซึ่งต้องทำบ่อยและค้างไว้นานพอ (ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลา จำนวนครั้งและความถี่) โดยทั่วไปดัดค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที
การดัดยืด (stretching exercise)
- ควรใช้แรงขนาดที่ทำให้เกิดการเจ็บตึงเล็กน้อย แต่อาการเจ็บนั้นควรหายไปหลังสิ้นสุดการดัดข้อ
- ควรใช้แรงน้อยๆแต่นาน ดีกว่าใช้แรงมาก แต่ทำด้วยเวลาสั้นๆ หรือออกแรงกระตุก
- ควรให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อจนสุดพิสัยที่ทำได้เองก่อน (active  exercise) แล้วผู้ช่วยจึงออกแรงช่วยดัดต่อ (passive stretching exercise) ในขณะที่ให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อ หรือในกรณีที่ติดมากผู้ป่วยไม่สามารถขยับได้เลยให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อแล้วให้ผู้ช่วยดัด
- การให้ความร้อนก่อนหรือระหว่างการดัดข้อจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การแช่น้ำร้อน การใช้paraffin กระเป๋าน้ำร้อน หรือใช้ความร้อนลึกเช่น ultrasound และใช้ความเย็นประคบข้อหลังดัดข้อเพื่อลดอาการปวดระบม
- ในกรณีที่มีภาวะเกร็ง (spastic) มากควรรักษาภาวะเกร็งร่วมด้วย เช่น การใช้ยารับประทาน การฉีดยาลดเกร็ง (neurolysis) การแก้ไขสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการเกร็ง
- ต้องระมัดระวังการดัดข้อที่มีการบวมหรือการอักเสบเนื่องจาก tensile strength ของเนื้อเยื่อรอบข้อน้อยลงได้ถึง 50% ทำให้มีโอกาสเกิดการฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้ง่าย
- ข้อศอกเป็นข้อที่ไม่แข็งแรง เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้อได้ง่าย อาจเกิดภาวะ myositis ossificans ซึ่งทำให้ข้อติดมากขึ้นได้ การดัดข้อศอกจึงต้องระมัดระวังและไม่ใช้แรงดัดมากเกินไป
- ข้อนิ้วมือควรมีการขยับ (mobilization) นวด (massage) เนื้อเยื่อรอบๆก่อนการดัด
- ข้อสะโพก ในผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ มีโอกาสเกิดข้อสะโพกติดในท่างอจึงควรดัดสะโพกร่วมด้วยในผู้ป่วยที่ต้องนอนนาน
- ข้อเท้า มักติดในท่าเท้าตก (equines deformity) ควรดัดโดยใช้มือจับส้นเท้า แขนสัมผัสทั้งฝ่าเท้า แล้วโน้มตัวดัดให้ทั้งฝ่าเท้ากระดกขึ้น ไม่ควรออกแรงแต่ที่ปลายเท้าเพราะจะทำให้เกิด Rocker-bottom deformity ได้
ข้อห้ามของการดัดข้อ
- bony block
- recent fracture
- acute inflammation / infection ของข้อหรือบริเวณรอบข้อที่จะทำการดัด
- hematoma / uncontrolled bleeding
- joint effusion
- contracture ที่ทำให้เกิดความมั่นคงของข้อ การยืดดัดอาจทำให้เสียความมั่นคงของข้อได้
สนใจสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับสูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์ ทั้ง 4 สาขา
TEL.096-405-1562,02-050-1900
www.sansirinursingthailand.org
www.sansirihomecare.com
www.nursingthailand.org
www.sansirinursinghome.com
www.bangkok-nursinghome.com