มิใช่ปัญหาที่พบเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่อยู่ในระดับกว้าง พบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่มักมีอาการที่ไม่รุนแรง ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกมักจะดำเนินวิธีการแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การหาอาหารหรือผลไม้บางชนิดมารับประทาน แล้วทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมา
ใช้ยาหรือน้ำสบู่สวนทวาร ทำให้อุจจาระนิ่มหรืออ่อนตัวลง แล้วทำให้ขับถ่ายออกมาโดยง่าย
บางท่านนิยมซื้อยาระบายมารับประทาน
ซึ่งยาพวกนี้จะทำให้ลำไส้ขับถ่ายอุจจาระออกมาด้วยกลไกต่าง ๆ กัน
อาการท้องผูก หมายถึง อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก
การทำงานของทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่อาหารถูกรับประทานเข้าไปทางปาก มีการบดเคี้ยวด้วยฟันจนเป็นชิ้นเล็ก ๆ และลงไปคลุกเคล้ากับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก อาหารจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ และจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป อาหารบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถจะดูดซึมไปใช้ได้ เรียกว่า กากอาหาร จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมาตามลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ตอนต้น ในขณะนั้นกากอาหารส่วนใหญ ่จะอยู่ในสภาพค่อนข้างเหลว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยมากพอควร ขณะที่กากอาหารส่วนนี้ผ่านจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น สู่ส่วนสุดท้ายก่อนจะถึงทวาร ลำไส้ก็จะดูดน้ำออกจากกากอาหารไปเรื่อย ๆ จนทำให้กากอาหารข้นเข้าทุกที จนจับกันเป็นก้อน เมื่อกากอาหารมารวมกันมากขึ้น จะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมีแรงบีบตัว ทำให้เรารู้สึกปวดอยากจะถ่าย และเกิดการขับถ่ายอุจจาระออกมานั่นเอง
ขบวนการย่อยอาหารจากต้นจนจบถึงขั้นสุดท้าย คือการถ่ายอุจจาระ จะกินเวลาประมาณ 1–3 วัน ซึ่งอัตราความเร็วนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารของแต่ละคน ชนิดของอาหาร และปริมาณของกากอาหารที่เหลือค้างในลำไส้ คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน อุจจาระจะมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง แต่ถ้าไม่มีการขับถ่ายออกมาตามเวลาปกติ อุจจาระที่ถูกเก็บในลำไส้ใหญ่ จะถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จนแห้งและแข็งมากขึ้นทุกที ทำให้อุจจาระออกด้วยความลำบาก นั่นคือเกิดอาการท้องผูก
สาเหตุ
อาการท้องผูก มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
- รับประทานอาหารที่มีกากน้อย หรือมีเส้นใยน้อยมาก
เส้นใย คือ ส่วนประกอบของพืชผักต่าง ๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยสลายให้เล็กลง และดูดซึมเอาไปใช้ในร่างกายได้ หลังจากกระบวนการย่อยอาหารเสร็จสิ้นแล้ว เส้นใยก็ยังคงค้างอยู่ในลำไส้ และเคลื่อนลงมาสู่ลำไส้ใหญ่ กลายเป็นอุจจาระต่อไป ถ้าคนรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก อุจจาระก็จะมีปริมาณมากด้วย และทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่าย เมื่อกากอาหารและเส้นใยมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนคนที่ไม่ค่อยรับประทานผักหรือผลไม้ รับประทานแต่ข้าว ขนม หมูต้ม ไข่เจียว จะมีกากอาหารที่เป็นอุจจาระในปริมาณน้อย จึงยังไม่สามารถกระตุ้นลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้เกิดการขับถ่ายได้ อุจจาระส่วนนั้นก็จะค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ และถ้านานเข้า ก็จะแห้งและแข็งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว - ดื่มน้ำในปริมาณน้อย
น้ำดื่มถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ร่างกายของเราต้องใช้น้ำเพื่อเป็นส่วนประกอบของเลือด ของเซลล์ต่าง ๆ และทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมักจะดื่มน้ำน้อย เนื่องจากศูนย์ที่กระตุ้นให้รู้สึกหิวน้ำทำงานไม่ค่อยดี ผู้สูงอายุจึงไม่ค่อยรู้สึกหิวน้ำ และในบางรายมีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะลำบากหรือกลั้นไม่อยู่ ผู้สูงอายุจะพยายามช่วยตัวเอง ด้วยการดื่มน้ำน้อยลง เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องปัสสาวะรด/ราด เมื่อร่างกายได้น้ำน้อย ไม่พอใช้ ก็จะพยายามดูดน้ำจากกากอาหารในลำไส้ออกมา ทำให้กากอาหารนั้นแข็งมากขึ้น ทำให้ถ่ายออกยาก เกิดอาการท้องผูกตามมา - ไม่ได้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ถ้าปวดเวลาไหนก็ไปถ่ายเวลานั้น บางครั้งเกิดปวดถ่าย แต่ไม่สามารถจะไปถ่ายได้ เช่น กำลังอยู่ในงานเลี้ยง หรืออยู่ในที่ที่ไม่มีห้องน้ำที่สะอาดพอ ทำให้ต้องกลั้นเอาไว้ บางท่านกำลังทำงานอดิเรกอยู่เพลิน ๆ ดูทีวีเพลิน ๆ ก็ไม่อยากลุกไปถ่าย ทำให้ท้องผูกได้
- การรับประทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ถ้าหากท่านได้ยาชนิดใหม่มาจากแพทย์แล้วพบว่า ลำไส้ทำงานไม่เหมือนเดิม คงจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาเป็นกลุ่มอื่น ๆ อย่าพยายามแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยาระบายมารับประทาน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด
ยาที่พบว่าทำให้เกิดอาการท้องผูกได้บ่อย เช่น ยาแก้ไอและยาแก้ปวด ที่มีส่วนประกอบของอนุพันธ์จากฝิ่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม และแคลเซียม ยาบำรุงเลือดที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก ยาต้านความเศร้า เป็นต้น - โรคทางกายบางโรคอาจมีผลทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น คนไข้เบาหวานที่เป็นมานาน จนเกิดอาการแทรกซ้อน โดยระบบประสาทอัตโนมัติที่จะช่วยเรื่องการบีบตัวของลำไส้ทำงานไม่ค่อยดี ทำให้ประสิทธิภาพของลำไส้ ที่จะบีบตัวไล่กากอาหารลงมาที่ทวารหนักลดลง กากอาหารค้างอยู่ในลำไส้นานขึ้น ทำให้แห้งและแข็งตัวขึ้น โรคธัยรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ และภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ก็จะทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน ในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท อัมพฤก อัมพาต ทำให้ไม่สามารถจะเดินได้อย่างปกติ หรือผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แต่นั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดเวลา จะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง และทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้
1.ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก
2.อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
4.ทานอาหารได้น้อย
5.อาหารไม่ย่อยเกิน มีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยาง
การดูแลรักษา
การรับประทานยาระบาย หรือการสวนทวารด้วยน้ำหรือน้ำยาเป็นประจำนั้น ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม แต่เราควรจะพยายามมองลักษณะการดำเนินชีวิตของเรา ว่ามีอะไรที่ควรจะแก้ไข ทำให้อาการท้องผูกดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยา ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร ควรมีการปรับแต่งอาหารของผู้สูงอายุให้ประกอบด้วยผัก และผลไม้มากขึ้น ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องฟัน ควรเลือกผักที่นิ่ม เช่น ตำลึง ถั่วงอก ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว และปรุงให้นิ่ม ผักที่เป็นหัวหรือเป็นผล เช่น ไชเท้า ฟักเขียว น้ำเต้า ก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้นิ่มได้โดยง่าย
- ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน
- ฝึกการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา และอย่ากลั้นอุจจาระ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน
- ประมาณครึ่งหนึ่งของพลังงานทั้งหมดควรมาจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
- เข้าใจเรื่องกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว และเลือกให้ถูกต้อง
- เพิ่มเส้นใยอาหาร จะช่วยสานเส้นใยชีวิต
พญ. สิรินทร ฉันศิริกาญจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น